Articles

หนี้เน่ากรุงไทย ผลงาน นช.แม้ว

by rakbankerd

ลำดับเหตุการณ์ปูดหนี้เน่ากรุงไทย

 

วันที่ 30 มิถุนายน 2547

      ธนาคารกรุงไทยมียอดหนี้เอ็นพีแอลรวมทั้งสิ้น  58,957  ล้านบาท  หรือคิดเป็น  10.60%

วันที่ 21 กรกฎาคม 2547

      ธนาคาร กรุงไทยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ถึงผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 2 พบว่ามีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 46,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 129,000 ล้านบาท เพิ่มจากเดิม 7.9% ของสินเชื่อรวม มาเป็น 12%

วันที่ 27 กรกฎาคม 2547

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) ยอมรับว่า  ธนาคารกรุงไทยมีการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการขนาดใหญ่หละหลวมถึง 14 โครงการ มูลค่า  40,000  ล้านบาท และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  (เอ็นพีแอล)  46,000 ล้านบาท  จนต้องมีการกันสำรองหนี้เพิ่มอีกจำนวน  3,251  ล้านบาท

วันที่ 11 สิงหาคม 2547

       เกิด ข่าวลือในห้องค้าหุ้น ตลาดหลักทรัพย์อย่างหนักมีทั้งเรื่อง เช่นข่างสอบสวนเอาผิดผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ข่าวพบหนี้เอ็นพีแอลในธนาคารนครหลวงไทยเพิ่ม ข่าวปลดผู้ว่าฯธปท. ข่าวเพิ่มทุนธนาคารกรุงไทย ข่าวกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะขายหุ้นธนาคารกรุงไทย และนครหลวงไทยที่ถืออยู่ออกมา เป็นต้น ทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารและฉุดให้หุ้นกลุ่มอื่นตกลงไปด้วย

วันที่ 13 สิงหาคม 2547

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการฯธปท.ยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่งอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้ทำอะไรผิด

วันที่ 13 สิงหาคม 2547

      นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าไม่มีความขัดแข้งกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการฯธปท.และไม่เคยคิดปลดออกจากตำแหน่ง

วันที่ 16 สิงหาคม 2547

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์  รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ตรวจเยี่ยมธนาคารกรุงไทยและแต่งตั้ง นายชัยอนันต์ สมุทวณิช กรรมการของธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบภายใน เร่งติดตามและจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบสินเชื่อโครงการที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทย  (ธปท.) ระบุว่าเป็นโครงการที่เป็นปัญหา  10  โครงการ  เป็นหนี้ที่สงสัยว่าจะสูญในช่วง  มิ.ย.46-มิ.ย.47 วงเงิน  40,000  ล้านบาทโดยให้เปิดเผยผลสรุปต่อสาธารณะ

วันที่ 16 สิงหาคม 2547  

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังได้สั่งการให้คณะกรรมการของธนาคารกรุงไทยแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจติดตามข้อมูล ยึดแนวเดียวกับ  ธปท.เพื่อตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อโครงการที่มีปัญหาเหล่านี้  เสริมกับคณะกรรมการตรวจสอบภายในอีกชุดหนึ่งด้วย มีนายพงศธร ศิริโยธิน รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายศุภรัตน์  ควัฒน์กุล  อธิบดีกรมสรรพากร  และนายเชษฐทวี  เจริญพิทักษ์  ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.  สายวางแผน ร่วมเป็นกรรมการ โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้

วันที่ 16 สิงหาคม 2547

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ยืนยันว่าการปล่อยกู้อย่างหละหลวมของธนาคารกรุงไทยไม่เกี่ยวกับการเมือง

วันที่ 23 สิงหาคม 2547

     คณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ดำเนินการกล่าวโทษผู้ บริหารบริษัทแนเชอรัล พาร์ค จำกัด(มหาชน) หนึ่ในกลุ่มลูกหนี้ซึ่งถูกธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งจับตามองเป็นพิเศษในข้อหา ปกปิดและผ่องถ่ายหนี้สินจำนวน 860 ล้านบาท โดยไม่ได้รับอนุญาต

วันที่ 26 สิงหาคม 2547

       การ สอบสวนกรณีธนาคารกรุงไทยของคณะกรรมการที่มี นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานสรุปว่ามีลูกหนี้จำนวน 11 รายกระทำผิดโดยนำเงินไปใช้ผิดประเภท ขณะเดียวกันในผลการสอบสวนดังกล่าวกลับไม่พบความผิดของผู้บริหารระดับสูงเข้า ไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใดมีเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิยเชื่อระดับล่างเพียงไม่กี่ คนเท่านั้น

 

************************

 

ปัญหาหนี้เสีย “กรุงไทย”

     ปัญหาหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของธนาคารกรุงไทย กำลังสร้างความหวั่นวิตกให้กับหลายฝ่ายในเวลานี้ว่า หากไม่มีการตรวจสอบ เพื่อหาข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมาแล้ว อาจส่งผลกระทบตามมาอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารไทย หรืออาจซ้ำรอยกรณีของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการหรือ บีบีซีจนต้องล้มไปเมื่อหลายปีก่อนซึ่งส่งผลกระทบลุกลามต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศโดยรวม

     เพราะถ้าพิจารณาจากสถานะของธนาคารกรุงไทยในปัจจุบัน ถือว่าเป็นธนาคารของรัฐที่มีขนาดใหญ่ มีสินทรัพย์อยู่ในอันดับต้นๆ โดยเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่อื่นๆ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น ดังนั้นหากมีปัจจัยลบใดๆมากระทบก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความความเชื่อมั่นทั้ง ระบบไปด้วย

     ย้อนปัญหากรุงไทย-การเมืองแทรกแซงสั่งการตามเคย

     ปัญหาที่เกิดขึ้นในธนาคารกรุงไทยดังกล่าว หากมองอีกแง่มุมหนึ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตตรงกันว่าล้วนมีสาเหตุมาจากการ ใช้อำนาจไม่โปร่งใสของคนในรัฐบาลบางคนเข้ามาแทรกแซงสั่งการ ทำให้มีการปล่อยกู้อย่างหละหลวมกับกลุ่มธุรกิจบางประเภทที่เป็นพวกพ้อง จนในที่สุดธนาคารกรุงไทยเกิดปัญหาเอ็นพีแอลพอกพูนขึ้นมาอย่างมาก และนอกเหนือจากนั้นปัญหาหนี้เน่าที่ทำให้สังคมได้รับรู้กันก็คือส่วนหนึ่งมา จากปัญหาความขัดแย้งภายในที่โยงใยกันตั้งแต่ระดับในรัฐบาลลงไปถึงผู้บริหาร ธนาคารที่ปล่อยข้อมูลเอกสารออกมาเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย

     อย่างไรก็ดีนับตั้งแต่ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นกว่า 46,000 ล้านบาทในการแสดงผลกำไรงวดที่ 2 ของปีนี้ ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา และถูกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกคำสั่งกันสำรองหนี้เพิ่มเติมเป็นเงิน 10,000 ล้านบาท ได้เกิดปฏิกิริยาทางลบตามมาทันที

     โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีการขยายผลสร้างความสับสนและถูกนำไปเป็นเครื่องมือปล่อยข่าวถล่มตลาดหุ้น อย่างต่อเนื่อง จนหุ้นของกลุ่มธนาคารถูกเทขายออกมายกแผง สร้างความปั่นป่วนไปทั่ว ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงมาอย่างรุนแรงถึง 66.95 จุด จาก 655.82 จุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รูดลงมาเหลือเพียง 588.87 จุดในวันที่ตลาดหุ้นปิดทำการวันที่ 13 สิงหาคม 2547

     กรุงไทยแบ่งกลุ่มจัดชั้นลูกหนี้พบเอ็นพีแอลอื้อ

      ถ้าพิจารณาตามเอกสารการประชุมของคณะกรรมการ(บอร์ด)ธนาคารกรุงไทยที่ได้ระบุ ถึงลูกหนี้ที่ ธปท.สั่งให้กันสำรองเพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ ธปท.ได้ตั้งข้อสังเกตโดยแบ่งลูกหนี้เหล่านี้เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้จัดชั้นปกติที่เข้าข่ายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ

              1)บริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค (มีนางสาวสิรอักษร กฤษดาธานนท์ ถือหุ้น 25% และนายวสุพันธ์ กฤษดาธานนท์ 25% นายวิชัย กฤษดาธานนท์ 5%) จัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญ ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่านำเงินกู้ยืมไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ไม่ได้มีการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการ

              2)มี 2 บริษัทในเครือเดียวกัน บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ (กลุ่มวิริยะพันธุ์) จัดชั้นหนี้สงสัย และ V.Group จัดชั้นหนี้สงสัย ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้อ่อน เป็นการให้กู้ยืมในลักษณะเพื่อสร้างกำไรและเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มลูกหนี้

              3)มี 2 บริษัทในเครือเดียวกันของนายณรงค์ ธรรมาวรานุคุปต์ บริษัท จีเวล เดคอร์ จัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญ และบริษัท บลูริเวอร์ไดมอนด์ จัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญ ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนสูงโดยไม่ได้ดำเนินการสืบ ทรัพย์ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ถึงที่สุดก่อน และไม่ได้แสดงหลักฐานเหตุผลและข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้

              4)บริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด จัดชั้นหนี้สงสัย ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ และ 5)บริษัท เฟอร์โปรดัคส์ดีไซน์ จัดชั้นหนี้สงสัย เงินต้นรวมดอกเบี้ย 94 ล้านบาท มูลค่าหลักประกัน 90 ล้านบาท สำรองที่ต้องกันเพิ่ม 2 ล้านบาท ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าวิเคราะห์สินเชื่อไม่รอบคอบ ทำให้ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก

    ทรู-ทีเอออเร้นจ์ติดกลุ่มลูกหนี้แนวโน้มเอ็นพีแอล

              ส่วนกลุ่มที่ 2 แยกเป็นประลูกหนี้กลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นเอ็นพีแอล ไม่จัดชั้น แต่ให้ธนาคารพิจารณากันเงินสำรองตามความเหมาะสม ประกอบด้วย

              1.ทีเอ ออเร้นจ์ จัดชั้นปกติ ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าลูกหนี้ประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ PCN 1800 โดยมีคู่แข่งขันรายใหญ่ในตลาด 2 ราย ซึ่งถือครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ภายในประเทศ ได้แก่ AIS และ DTAC ผลการดำเนินงานในปี 2545 และปี 2546 มี EBITDA เป็นลบ และมีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน สิ้นปี 2546 ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือ 3,242 ล้านบาท จาก 14,992 ล้านบาท ในปี 2543

     ผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2547 บริษัทมี EBITDA หรือรายได้ก่อนหักภาษีหักดอกเบี้ยหักค่าเสื่อมราคาเป็นบวก จำนวน 294.72 ล้านบาท แต่ไม่เพียงพอชำระดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งมีจำนวน 503.33 ล้านบาท แต่มีเงินจากผู้ร่วมลงทุนรายใหญ่มาสนับสนุนและมีอัตราส่วน D/E Ratio เท่ากับ 1.37 อย่างไรก็ดี ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากต่างประเทศ(Orange) จะถอนตัวจากการเป็นผู้ถือหุ้น และทางบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ จะเข้ามาสวมสิทธิแทน

     โดยจะต้องเพิ่มทุนในบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2547 ลูกหนี้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาในการชำระหนี้คืนธนาคาร ประกอบกับเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องการเพิ่มทุนดังกล่าวข้างต้น จึงให้ธนาคารพิจารณากันเงินสำรองเผื่อความเสียหายที่อาจเกิด และติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด

              2.ทรู คอร์ปอเรชั่น ยอดหนี้ 4,356 ล้านบาท มูลค่าหลักประกันไม่มี จัดชั้นหนี้ปกติ ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าลูกหนี้ประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมให้บริการโทรศัพท์ พื้นฐานโทรศัพท์ PCT และให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล มีรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มในปี 2546 จำนวน 27,950 ล้านบาท จากปี 2543 ซึ่งมีจำนวน 19,388 ล้านบาท แต่ผลการดำเนินงานยังมีขาดทุนสุทธิทุกปีเนื่องจากมีค่าเสื่อมราคาและรายจ่าย รอตัดบัญชีเป็นจำนวนสูง โดยในปี 2543 มีจำนวน 7,708 ล้านบาท และปี 2546 มีจำนวน 8,865 ล้านบาท ลูกหนี้สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามเงื่อนไข และธุรกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ยังมีผลขาดทุนสะสมเป็นจำนวนสูง จำนวน 43,729 ล้านบาท

     อย่างไรก็ดี บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ ร้อยละ 44 ซึ่งต้องรับรู้ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน) จากบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย จึงให้ธนาคารพิจารณากันเงินสำรองเผื่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด

     กลุ่มเอ็นพาร์คถูกจับตาใกล้ชิดใช้เงินผิดวัตถุประสงค์

              3)บริษัท แนเชอรัล พาร์ค มีหนี้ 1,898 ล้านบาท มูลค่าหลักประกัน 3,384 ล้านบาท ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่า ลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้โดยเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลฟื้


Sponsor Ads


About rakbankerd Freshman   

3 connections, 0 recommendations, 41 honor points.
Joined APSense since, January 9th, 2008, From Unknown.

Created on Dec 31st 1969 18:00. Viewed 0 times.

Comments

No comment, be the first to comment.
Please sign in before you comment.